ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ดาวโลกมีสภาวะที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต คือการมีระดับก๊าซออกซิเจน ซึ่งเป็นก๊าซที่จำเป็นสำหรับกระบวนการหายใจ ,kdเพียงพอ โดยมีสัดส่วนประมาณ 21% ของก๊าซในบรรยากาศโลก
ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าดาวเพื่อนบ้านของเราอย่างดาวอังคารมีเงื่อนไขบางอย่างที่อาจทำให้มันเหมาะต่อการดำรงชีวิตเช่นกัน แต่ระดับออกซิเจนที่น้อยมาก ไม่ถึง 1% กลับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจะไปดำรงชีวิตบนนั้นเป็นเรื่องยาก
แต่ล่าสุดนักวิจัยพบหลักฐานบ่งชี้ว่า ในอดีต ดาวอังคารอาจเคยมีระดับก๊าซออกซิเจนมากพอ ๆ กันกับดาวโลก และคล้ายโลกมากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคาดการณ์ไว้
รถสำรวจคิวริออซิตี (Curiosity) ของนาซาที่กำลังปฏิบัติภารกิจอยู่บนดาวอังคาร ได้ค้นพบหินที่อุดมไปด้วยแมงกานีสออกไซด์ (MgO) อย่างผิดปกติ
โดยหินดังกล่าวถูกพบขณะยานคิวริออซิตีกำลังเคลื่อนผ่านกลางปล่องภูเขาไฟเกล (Gale) ซึ่งเป็นก้นทะเลสาบโบราณกว้าง 154 กิโลเมตรซึ่งมันได้สำรวจมาตั้งแต่ปี 2012
เครื่องมือ ChemCam ของมันสามารถตรวจจับแมงกานีสออกไซด์ภายในหินได้โดยการทำให้หินชิ้นเล็ก ๆ กลายเป็นไอด้วยเลเซอร์ จากนั้นจึงวิเคราะห์ไอฝุ่นที่เกิดขึ้น และพบว่า ครึ่งหนึ่งขององค์ประกอบทางเคมีของหินคือสารประกอบแมงกานีสออกไซด์
โดยปกติ ธาตุแมงกานีสบนโลกมักพบในหินและในมหาสมุทร โดยปรากฏตั้งแต่ก่อนที่สิ่งมีชีวิตในยุคแรกสุดจะถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4 พันล้านปีก่อนคำพูดจาก เว็บดีฝากถอนปลอดภัย
วิธีเดียวที่ทราบในการเกิดแมงกานีสออกไซด์นั้นเกี่ยวข้องกับธาตุออกซิเจนหรือไม่ก็จุลินทรีย์ที่ผลิตออกซิเจนได้ แต่บนดาวอังคารไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนสำหรับทั้งสองปัจจัย ทำให้นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าแมงกานีสออกไซด์ก่อตัวขึ้นในหินที่พบได้อย่างไร
แพทริก กัสดา นักวิทยาศาสตร์การวิจัยที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอสอาลามอส หนึ่งในทีมวิจัย บอกว่า “การสร้างหินที่มีแมงกานีสออกไซด์สูง เกิดขึ้นได้ง่ายบนโลกเพราะจุลินทรีย์และออกซิเจน … ดังนั้นทุกอย่างจึงชี้ย้อนกลับไปถึงสิ่งมีชีวิต”
เขาเสริมว่า “แน่นอนว่าเราไม่มีหลักฐานว่ามีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร ดังนั้น หากจะบอกว่ามีการสร้างออกซิเจนในระบบที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ ความเข้าใจในปัจจุบันเกี่ยวกับดาวอังคารไม่สามารถอธิบายเรื่องนั้นได้”
สมมติฐานที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ ในอดีตอันไกลโพ้น ดาวอังคารอาจเคยมีระดับก๊าซออกซิเจนคล้ายกับโลกของเรา
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นพ้องกันว่าหินที่เพิ่งค้นพบนี้บ่งชี้ว่าดาวอังคารเคยอุดมด้วยออกซิเจน
เจฟฟรีย์ คาตาลาโน ศาสตราจารย์ด้านโลก วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและดาวเคราะห์แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษานี้ กล่าวว่า การมีอยู่ของหินที่ถูกออกซิไดซ์สามารถช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าดาวอังคารก็เหมือนกับโลกที่เคยผ่านช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านจากช่วงออกซิเจนต่ำและช่วงออกซิเจนสูง
“ผลกระทบของแมงกานีสออกไซด์ต่อความเข้าใจของเราเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้รับการกล่าวเกินจริงทั้งในที่นี้และในงานวิจัยอื่นก่อนหน้านี้” เขากล่าว
คาตาลาโนเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในปี 2022 ที่พบว่า แมงกานีสออกไซด์สามารถก่อตัวได้ง่ายภายใต้สภาวะคล้ายดาวอังคารโดยต้องไม่มีออกซิเจนในชั้นบรรยากาศ
การวิจัยซึ่งอิงจากผลการทดลองในห้องปฏิบัติการแสดงให้เห็นว่า องค์ประกอบต่าง ๆ เช่น คลอรีนและโบรมีน ซึ่งมีอยู่มากมายบนดาวอังคารยุคแรก สามารถเปลี่ยนแมงกานีสที่ละลายในน้ำให้เป็นแมงกานีสออกไซด์ได้ นั่นหมายความว่า มีคำอธิบายอื่นถึงวิธีการเกิดสารประกอบดังกล่าว ดังนั้น การพบแมงกานีสออกไซด์บนดาวอังคารไม่ได้บ่งชี้ว่าดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้จะต้องเคยอุดมไปด้วยออกซิเจน
นี่คือความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์ที่ทุกการค้นพบอาจไม่ใช่ความจริงเสมอไป แต่ก็ไม่ได้ไร้คุณค่า เพราะมันอาจเป็นรากฐานนำไปสู่การค้นพบใหม่ ๆ ในอนาคต ที่วันหนึ่ง อาจทำให้มนุษย์เราสามารถไขปริศนาทั้งหมดของดาวอังคารได้
อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่
เรียบเรียงจาก Live Scienceคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
พยากรณ์อากาศล่วงหน้า 7-16 พ.ค.67 ฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น
เช็ก 45 จังหวัด สิทธิบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว
ฟุตซอลไทย อันดับ 9 โลก หลังฟีฟ่า จัดอันดับทางการ